วันพฤหัสบดีที่ 9 เมษายน พ.ศ. 2552

รักภาษาจีน

ภาษาจีน เรียนยาก แต่เมื่อเข้าใจแล้วจะรู้สึกชื่นชม ดังภาพวาดของจิตกรเอกของโลกเชียว เพราะอักษรแต่ละตัวมีประวัติศาสตร์อันยาวนาน หลายพันปี และบอกความหมายได้ลึกซึ้ง ไม่สามารถบรรยายให้เข้าใจในวันเดียวได้ ถ้าอยากรู้ความหมายต้องตามไปเรียน แล้วท่านจะซาบซึ้งอย่างมิรู้ลืม
จดหมายมาที่นี่ฉบับเดียวทุกคนก็
รับรู้ร่วมกัน

ทุกอย่างใช้ ยูเซอร์และระหัสผ่านเดียวกันทั้งชุดครับ

ผู้ใช้ zhongwendongbei@gmail.com
ระหัสผ่าน เขียนจดหมายไปที่อีเมล์แล้วจะให้รหัสผ่านครับ




สวัสดีครับ
ผมพยายามที่จะหาเส้นทางที่ได้รับข่าวสารด้วยกัน โดยส่งจดหมายฉบับเดียวแล้วทุกคนรู้เข้าใจอย่างเดียวกันหลายวิีธี
คิดแล้วคิดอีก หลายคนตกข่าว หลายคนได้รับข่าว บางคนก็บอกว่าไม่ส่งต่อ บางคนก็บอกว่าส่งช้า บางคนเมล์ไม่ค่อยเปิดก็โดนปิดตาย
จากการรวมกลุ่มชมรมครูสอนภาษาจีนภาคอีสาน รวมกันหลายครั้ง ทำมาหลายวิธี ปีนี้ มาเรียนร่วมกันที่สะดืออีสาน ที่เมืองมหาสารคาม
ก็ได้รับความเห็นหลายท่านว่าเราน่่าจะรวมกันให้เหนียวแน่นช่วยเหลือกันในการสอนภาษาจีนให้พัฒนายิ่งๆขึ้น
เมื่อมีชมรมก็หาวิธีการจะสร้างเว็บไซท์ชมรม ทำอีเมล์ชมรม ทำการแชร์ข้อมูล ข่าวสาร สื่อการสอน แบบข้อสอบ งานวิชาการ ตลอดทั้ง การพัฒนานักเรียนด้านการเรียนรู้ภาษาจีนให้ดียิ่งๆขึ้น
ตอนนี้ผมขอนำเสนอ อีเมล์ร่วมกันสักหนึ่งที่ ที่ทุกคนที่เป็นสมาชิกเข้ามาอ่าน มาเขียน มาลบได้ เปรียบเสมือน บ้านหลังใหม่ ลอยอยู่บนภาคพื้นอีสาน มีหลายห้องให้เข้าไปใช้ ไปพักร่วมกัน
ห้องที่1 ชื่อว่า ห้องแชร์ไฟล์เอกสาร ทุกคนสามารถเข้าไปอ่าน ไปเขียนร่วมกันได้ สามารถดาวโหลด อัปโหลดเอกสารดีๆ ให้สมาชิกของเราได้ใช้ต่อการเรียนการสอนภาษาจีน ชื่อว่าห้อง http://docs.google.com/?tab=mo
ห้องที่ 2ชื่อว่า ภาพสวยๆ ภาพสมาชิก ภาพกิจกรรม ภาพสื่อการสอนภาษาจีน ที่ทุกคน สามารถดาวโหลด อัปโหลด ร่วมกันจัดห้องจัดนิทรรศการร่วมกันครับ เนื้อที่เยอะ ไม่พอหาเพิ่มได้ครับ ผมเองไม่มีภาพ จากได้ภาพจากกล้องทุกคนอัปโหลดมาให้เพื่อนได้ชมด้วยกันนะครับ คลิกเข้าไปที่
http://picasaweb.google.co.th/zhongwendongbei
ห้องที่ 3 ชื่อว่า ห้องการเขียนเว็บไซท์ให้ชาวโลกได้ชื่นชม กับชมรมครูสอนภาษาจีนภาคอีสาน ชุดอบรมมหาสารคามปี52 อยากให้ดี อยากให้สวย อยากตกแต่ง อย่างประชาสัมพันธ์ให้คนทั้งโลกได้เห็น คลิกเข้าไปตรงนี้ แล้วเรามาช่วยกันคนละไม้คนละมือ เว็บของเราก็จะได้ดังใจปรารถนาครับ
http://sites.google.com/site/laoshidongbei/khru-sxn-phasa-cin-phakh-xisan
ห้องที่ 4 เป็นการบันทึกเรื่องสั้น เรื่องยาว เรื่องเล่า ของนักเขียน เขียนให้คนทั้งโลกได้อ่าน ร่วมกันเขีัยนให้มากๆ ทุกคนคือยอดนักเรียน แม้ไม่มีใครอ่าน สมาชิกของเราก็จะช่วยกันอ่าน เป็นกำลังใจให้กันเสมอครับ เขียนที่
http://zhongwendongbei.blogspot.com/
ภาพเก่าๆ เรื่องเล่าของครูซุนย้ง ก็เข้าไปที่ http://school.obec.go.th/yangchumyai/china

ภาพทุกภาพจะสวยก็ด้วยฝีมือของเราทุกคนครับ
ด้วยความเคารพอย่างสูง
ซุนย้ง แซ่เตียว

5 ความคิดเห็น:

  1. Ni hao ka
    เข้ามาดูเวบหลังจากกินเกี๊ยว ^___^
    ยังใช้ไม่ค่อยเป็นค่ะ
    แล้วจะมาเยี่ยมชมบ่อยๆนะคะ
    ครูอ้อ สนบ. ค่า

    ตอบลบ
  2. ขั้นตอนการสอนภาษาเพื่อการสื่อสาร
    สุมิตรา อังวัฒนกุล (2535:112-115) ได้เสนอขั้นตอนการสอนภาษาเพื่อการสื่อสารไว้ 3 ขั้นตอน ดังนี้
    1. ขั้นเสนอเนื้อหา (Presentation or Introducing New Language)
    ครูนำเข้าสู่เนื้อหา (Lead-In) โดยในขั้นนี้ครูเสนอบริบทหรือสถานการณ์แก่นักเรียนก่อนโดยใช้รูปภาพ การเล่าเรื่องให้ฟัง ฯลฯ จากนั้นจึงเสนอเนื้อหาทางภาษาแก่นักเรียนโดยให้นักเรียนฟังหรืออ่านในด้านเนื้อหาที่เสนอควรเป็นเนื้อหาที่มีบริบท หรือสถานการณ์กำกับอยู่ด้วย ซึ่งอาจเป็นเรื่องราวบทสนทนา แต่ไม่ควรเป็นประโยคเดี่ยว ๆ และเนื้อหานอกจากจะมีคำศัพท์และรูปแบบภาษาที่ต้องการนำมาสอนแล้ว ก็ควรจะมีคำศัพท์หรือรูปแบบภาษาที่นักเรียนเคยเรียนรู้มาบ้างแล้ว เพื่อช่วยให้สามารถเข้าใจในเรื่องราวที่ฟังหรืออ่านได้บ้าง จากนั้นจะดึงความสนใจโดยตรวจสอบดูว่านักเรียนเข้าใจเรื่องที่ฟังหรืออ่านเพียงใด เช่น ถามคำถามให้นักเรียนตอบหรือกระตุ้นให้นักเรียนพูด ถ้านักเรียนตอบโต้หรือสามารถใช้ภาษาได้ก็ไม่จำเป็นต้องเสียเวลากับการเสนอเนื้อหามานัก ทั้งนี้เพราะนักเรียนอาจเคยรู้เนื้อหาดังกล่าวมาแล้ว แต่ถ้านักเรียนตอบได้น้อยหรือไม่ได้เลย ครูต้องตระหนักว่าจำเป็นต้องสอนหรืออธิบาย และแสดงให้นักเรียนเห็นว่า เนื้อหาภาษานั้นมีรูปแบบ วิธีใช้และมีความหมายอย่างไร และถ้าจำเป็นอาจใช้ภาษาแม่ในการอธิบายได้
    2. ขั้นการฝึก (Practice / Controlled Practice)
    ขั้นการฝึกเป็นขั้นตอนที่ให้นักเรียนฝึกใช้ภาษาที่เพิ่งเรียนรู้ใหม่ในลักษณะของการฝึกแบบควบคุม (Controlled Practice) โดยมีครูเป็นผู้นำในการฝึกโดยทั่วไปการฝึกในขั้นนี้มีจุดมุ่งหมายให้นักเรียนจดจำรูปแบบของภาษาได้ จึงเน้นที่ความถูกต้องของภาษาเป็นหลัก แต่ก็มีจุดมุ่งหมายให้นักเรียนจดจำรูปแบบของภาษาได้ จึงเน้นที่ความถูกต้องของภาษาเป็นหลัก แต่ก็มีจุดมุ่งหมายให้นักเรียนได้ทำความเข้าใจเกี่ยวกับความหมาย และวิธีการใช้รูปแบบภาษานั้น ๆ ด้วยเช่นกัน การฝึกแบบควบคุมนี้ ในขั้นเริ่มแรกมักใช้วิธีการฝึกแบบกลไก (Mechanical Drill) หรือบางครั้งเรียกว่าการฝึกซ้ำ ๆ (Repetition Drill) คือ เป็นการให้นักเรียนฝึกซ้ำ ๆ ตามตัวอย่างจนกระทั่งสามารถจดจำ และใช้รูปแบบภาษานั้นได้แต่ยังไม่เน้นในด้านความหมาย ดังนั้นในการฝึกแบบนี้นักเรียนอาจจะเข้าใจความหมายของรูปแบบภาษาที่ใช้ในการฝึกก็ได้
    3. ขั้นการใช้ภาษาเพื่อการสื่อสาร (Production/Free Practice)
    ขั้นนี้สำคัญมาก เพราะเป็นขั้นที่เป็นตัวกลางเชื่อมโยงระหว่างการเรียนรู้ภาษาไทย ในชั้นเรียนกับการนำภาษาไปใช้จริงนอกชั้นเรียน ผู้เรียนสามารถใช้ภาษาเพื่อการสื่อสารได้เองโดยอิสระวิธีการฝึกจะฝึกในรูปแบบการทำกิจกรรมต่าง ๆ ที่ผู้สอนเป็นคนกำหนด
    หน่วยศึกษานิเทศก์ สำนักงานการประถมศึกษาจังหวดนครปฐม(2540: 21)
    และหน่วยศึกษานิเทศก์ สำนักนิเทศการศึกษาและพัฒนามาตรฐานการศึกษา (2542: 18) ได้เสนอขั้นตอนในการจัดกิจกรรมการเรียนการสอนไว้ 5 ขั้นตอน ดังนี้
    1. ขั้นเตรียมความพร้อมหรือขั้นนำเข้าสู่บทเรียน (Warm Up) เป็นกิจกรรมที่จัดขึ้นเพื่อให้ผู้เรียนมีความพร้อมที่จะเรียนเนื้อหาใหม่ อาจเป็นการทบทวนเนื้อหาที่เรียนผ่านมาแล้วหรือนำเข้าสู่เนื้อหาใหม่ ที่จะเรียนต่อไปมีกิจกรรมที่หลากหลาย เลือกให้เหมาะสมเพื่อเป็นตัวเร้าที่ดี กิจกรรมที่ใช้ในขั้นตอนนี้อาจจะเป็นเพลง เกม นิทาน การสนทนา หรือการแสดงต่าง ๆ เป็นต้น
    2. ขั้นการนำเสนอ (Presentation) เป็นการให้ตัวป้อนทางภาษา (Language in Put) แก่ผู้เรียน ทั้งที่เป็นตัวอย่างภาษาที่เป็นจริง และผู้เรียนมีหน้าที่ฟังและสังเกต ควรใช้กิจกรรมที่ยึดนักเรียนเป็นศูนย์กลาง และเปลี่ยนกิจกรรมไปตามสถานการณ์และความสนใจของนักเรียน เป็นการนำเสนอให้นักเรียนได้รับรู้ ทักษะการฟัง พูด อ่าน หรือเขียน แล้วแต่กรณีตามที่ครูกำหนดนักเรียนรับรู้ ทักษะการฟัง พูด อ่าน เขียน ในขั้นนี้นักเรียนจะเข้าใจความหมายของคำที่ครูเสนอ ข้อควรคำนึงที่ครูต้องคำนึงอย่างมาก คือการใช้คำพูดพร้อมกับแสดงสิ่งของหรือกริยาท่าทางให้นักเรียนฟัง สังเกตและรับรู้ เข้าใจอย่างถูกต้องและชัดเจนที่สุด
    3. ขั้นฝึก (Practice) เป็นการฝึกตัวภาษาในสถานการณ์เดียวกันกับครูผู้สอนนำเสนอทั้งนี้เพื่อเปิดโอกาสให้ผู้เรียนได้ฝึกการใช้ภาษาในสถานการณ์ที่เหมือนจริง ครูผู้สอนแสดงบทบาทเป็นผู้นำ (Conductor) ในการฝึกภาษาของผู้เรียน และผู้เรียนมีหน้าที่ในการฝึกและ มีส่วนร่วมในกิจกรรมการเรียนการสอน ครูจะนำเสนอการพูด อ่านหรือเขียน แล้วให้นักเรียน ทำตามถ้าถูกต้อง ควรชมเชย ถ้าไม่ถูกต้องควรแก้ไข
    4. นำไปใช้ (Production) ต้องออกแบบกิจกรรมเพื่อให้นักเรียนได้ใช้ภาษา ในการสื่อสารในสถานการณ์เหมือนชีวิตจริง เป็นสถานการณ์ใหม่ ซึ่งอาจคล้ายคลึงสถานการณ์ ที่ครูผู้สอนได้นำเสนอไปแล้ว ทั้งนี้เพื่อส่งเสริมให้ผู้เรียนได้ใช้ภาษาที่เรียนรู้มาแล้วในชั่วโมงก่อน ๆ และในชั่วโมงที่กำลังเรียนอยู่ เพื่อให้นักเรียนเกิดความคล่องแคล่ง (Fluency) และถูกต้อง (Accuracy) ครูผู้สอนแสดงบทบาทเป็นผู้ให้คำแนะนำ (Advisor) คอยแนะนำและช่วยเหลือผู้เรียนในการนำภาษาไปใช้ ผู้เรียนมีหน้าที่ในการผลิตภาษา กิจกรรมที่ควรจัดในห้องเรียน เช่น
    4.1 แบ่งกลุ่มแสดงบทบาทสมมติ
    4.2 แบ่งกลุ่มเล่นเกม
    4.3 แสดงท่าทางประกอบ
    4.4 ทำแบบฝึกหัด
    5. ขั้นสรุป (Warm up) เป็นขั้นสุดท้ายของการจัดกิจกรรมการเรียนการสอนกิจกรรมที่จัดขึ้น เพื่อให้ผู้เรียนได้สรุปสาระสำคัญของบทเรียน ความรู้ ทักษะ และเจตคติที่นักเรียนได้รับในครั้งนี้ กิจกรรมที่จัดขึ้นในขั้นตอนนี้อาจเป็นเพลง เกม การทำแบบฝึกหัดต่าง ๆ หรือ การมอบหมายงาน เป็นต้น
    จะเห็นได้ว่าในการสอนภาษาเพื่อการสื่อสาร ผู้สอนจะสอนโดยเน้นทักษะทั้ง
    4 ทักษะได้แก่ การฟัง พูด อ่าน และเขียน โดยเน้นจุดมุ่งหมายให้ผู้เรียนสามารถใช้ภาษาอังกฤษสื่อสารได้อย่างมีความหมาย ส่วนการสอนจะดำเนินไปตามรูปแบบของทักษะสัมพันธ์ให้คล้ายกับสถานการณ์จริงกิจกรรมแต่ละขั้นตอนนั้นจะต้องให้นักเรียนเกิดความรู้ ทักษะ และเจตคติตามจุดประสงค์ที่หลักสูตรกำหนด และควรปฏิบัติซ้ำในทุกทักษะจนนักเรียนมีความคล่องแคล่ว
    ใน การใช้ภาษา แล้วนำภาษาไปใช้ได้ในสถานการณ์ที่เป็นจริงอย่างอิสระ

    แนวการจัดการเรียนการสอนภาษาเพื่อการสื่อสาร
    การสอนภาษาเพื่อการสื่อสาร จะเน้นการใช้ภาษาของผู้เรียนเป็นหลัก โดยอาศัยหลักของภาษาศาสตร์เชิงสังคมวิทยา (Sociolinguistics) ว่าด้วยบริบท (Context) ภาษาและวัฒนธรรมที่แตกต่างกันในแต่ละชุมชนที่อาจใช้แตกต่างกันไปตามสภาพแวดล้อมสำหรับกระบวนการนั้น
    จะเน้นการมีปฏิสัมพันธ์ในการใช้ภาษาระหว่างผู้เรียนกับผู้สอน และระหว่างผู้สอนกับผู้เรียนเป็นสำคัญ การกระตุ้นให้ผู้เรียนเกิดความรู้สึกอยากแสดงออกทางภาษาหรือทดลองการใช้ภาษาเพื่อสื่อสารความหมายด้วยตนเองทั้งการฟัง การพูด การอ่าน และการเขียน ย่อมทำให้การพัฒนาทางภาษาเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพและเป็นไปตามธรรมชาติโดยผู้สอนมีหน้าที่คอยช่วยเหลือแนะนำและแก้ไขการใช้ภาษาที่ถูกต้องแก่ผู้เรียน
    มอร์โรว์ (Morrow 1981, อ้างถึงใน ไชยนันท์ แสงทอง: 19) ได้กล่าวถึงกระบวน การเรียนเพื่อการสื่อสาร ควรมีลักษณะ ดังนี้คือ
    1. สอดคล้องกับวัตถุประสงค์ในการเรียนรู้ว่าผู้เรียนภาษาไปเพื่ออะไร สามารถเรียนจนนำไปใช้ได้ ไม่ใช่เรียนรู้เพียงวิธีการเท่านั้น
    2. เน้นความเข้าใจเรื่องทั้งหมดมากกว่าความสามารถ ในการแยกวิเคราะห์รายละเดียวในการสื่อสารจริง เรามุ่งเน้นความสนใจไปที่เนื้อหาความที่สารนั้นต้องการจะสื่อดังนั้นผู้สอนจะให้ผู้เรียนได้อ่านเนื้อความโดยสังเขปเพื่อให้ได้ความเข้าใจทั้งหมด (Global Understanding) ของเรื่องที่อ่านก่อน
    3. เน้นกระบวนการในการเรียนเท่ากับรูปแบบของภาษา
    4. ผู้สอนควรเปิดโอกาสให้ผู้เรียนเป็นผู้ใช้ภาษามากที่สุด การให้ผู้เรียนสนทนาแลกเปลี่ยนข้อมูลกัน ให้เลือกใช้ภาษาตามที่ต้องการและให้ประเมินการสื่อสารของตนเอง เป็นการส่งเสริมให้ผู้เรียนได้มีโอกาสใช้ภาษา
    5. เน้นความคล่องและความเหมาะสมในการใช้ภาษา โดยไม่ถือว่าข้อผิดพลาด
    เป็นสิ่งที่จะต้องแก้ไขเสมอ เพื่อช่วยในการสื่อสารของผู้เรียน ไม่หยุดชะงักและเกิดความท้อถอย
    ที่จะสื่อสาร
    แนวการสอนภาษาเพื่อการสื่อสารจะต้องเน้นให้ผู้เรียนนำภาษาไปใช้ได้ คือ เน้นการใช้ภาษา (Use) มากกว่าวิธีใช้ภาษา (Usage) และต้องใช้ผู้เรียนรู้เป้าหมายของการทำกิจกรรมแต่ละอย่างชัดเจน เพื่อให้ผู้เรียนเกิดแรงจูงใจในการทำกิจกรรม นอกจากนี้ การสอนจะต้อง เน้นความสำคัญของส่วนทั้งหมด (Whole) ของภาษาที่สอนแล้วค่อยเน้นลงไปในส่วนย่อย (Part) เน้นกระบวนการเรียน (Processes) มากกว่าเน้นรูปแบบ (Form) เน้นการเรียนรู้ด้วยการปฏิบัติและ การที่ผู้เรียนใช้ภาษาผิดไม่ใช่ความผิดพลาดที่ร้ายแรง หากแต่เป็นส่วนหนึ่งของการเรียนรู้ ตราบใดที่ความผิดนั้นไม่เป็นอุปสรรคต่อการสื่อสาร ผู้สอนควรอนุโลมให้และไม่ควรยับยั้งหรือแก้คำผิดระหว่างทำกิจกรรม ซึ่งกระบวนการเรียนรู้ที่จำเป็นในการเรียนการสอนภาษาเพื่อการสื่อสาร คือช่องว่างด้านข้อมูลระหว่างผู้ร่วมทำกิจกรรม (Information Gap)
    ช่องว่างด้านข้อมูลระหว่างผู้ร่วมทำกิจกรรม หมายถึง ลักษณะที่คู่สนทนาต่างก็ ไม่ทราบข้อมูลของอีกฝ่ายหนึ่ง และต่างฝ่ายต่างก็ต้อการที่จะทราบข้อมูลหรือให้ข้อมูลแก่กันเรียกว่ามีความต้องการที่จะสื่อความหมาย (Needs for communication) ทั้งสองฝ่าย ดังนั้น ผู้พูดต้องเลือกใช้ถ้อยคำและสำนวนให้เหมาะสมของคำและสำนวนภาษาในรูปแบบต่าง ๆ กัน ว่าผู้พูดต้องการถามอะไร จึงจะตอบได้ถูกต้อง ปัจจัยสำคัญอีกประการหนึ่ง คือ การที่คู่สนทนาได้ข้อมูลย้อนกลับ (Feedback) ทันทีเพราะข้อมูลย้อนกลับทำให้คู่สนทนาทราบได้ทันทีว่าคำพูดของตนนั้น “สื่อความหมาย” ตามที่ต้องการไปยังผู้ฟังหรือไม่ ถ้าไม่สื่อความหมายต้องถามซ้ำหรือเลิกถาม ไปเลย ถ้าสื่อความหมายแล้วตนได้รับคำตอบที่ต้องการหรือยัง ถ้ายังไม่พอตามความต้องการอาจเพิ่มได้
    ฟินอคติแอโร และโบโมโน (Finocchiaro and Bomono 1973, อ้างถึงใน กรมวิชาการ 2542: 14) ได้เสนอแนะแนวทางในการจัดการเรียนการสอนเพื่อการสื่อสาร ดังนี้
    1. ควรวางแผนในการจัดประสบการณ์การเรียนให้แก่ผู้เรียนอย่างรอบคอบ
    2. ควรวางแผนในการจัดสถานการณ์รวมทั้งอุปกรณ์ที่จะช่วยให้ผู้เรียนเข้าใจความหมายของเรื่องที่นำเสนอใหม่อย่างแจ่มแจ้ง
    3. ควรจัดบทเรียนให้มีทั้งการฝึกเพื่อให้เป็นนิสัย และการฝึกให้ใช้ภาษาอย่างมีความหมาย โดยใช้กิจกรรมเพื่อการสื่อสาร
    4. ควรใช้ภาษาของผู้เรียนให้น้อยที่สุด แต่ในบางครั้งควรตัดสินใจใช้ภาษาของผู้เรียนทันที เมื่อเห็นว่าจะช่วยให้ผู้เรียนสามารถเข้าใจข้อมูลที่สำคัญบางประการได้ชัดเจนยิ่งขึ้น
    5. ควรรู้จักวิธีการจัดให้ผู้เรียนฝึกพร้อมกันทั้งชั้น ฝึกเป็นกลุ่มหรือฝึกเป็นรายบุคคล
    6. ควรมีความชำนาญในการสอนที่เปิดโอกาสให้ผู้เรียนได้ฝึกเป็นคู่
    7. ควรจัดเตรียมการฝึก บทสนทนา ตลอดจนบทความต่าง ๆ เพื่อให้บทเรียน มีหลายลักษณะอันจะช่วยเสริมเนื้อหาของบทเรียนนั้น และช่วยให้ผู้เรียนได้พัฒนาความสามารถในการสื่อสาร
    8. ควรมีความคล่องตัวในการเตรียมบท (Script) สำหรับบันทึกเสียง และสามารถนำการฝึกในห้องปฏิบัติการมาประสานกันการจัดกิจกรรมในห้องเรียนได้อย่างเหมาะสม
    9. ควรมีความสามารถในการตัดสินได้ว่า ผู้เรียนระดับต้นควรจะใช้กิจกรรมการอ่านและกิจกรรมการเขียนเมื่อใด
    10. ควรจัดเตรียมบทเรียนสำหรับอ่านที่จะช่วยให้ผู้เรียนเพิ่มพูนทั้งด้านความรู้และประสบการณ์
    11. ควรจัดกิจกรรมการเรียนที่จะช่วยเพิ่มพูนความสามารถในการเขียนอย่างอิสระแก่ผู้เรียน
    12. ควรส่งเสริมให้ผู้เรียนเข้าใจวัฒนธรรมของเจ้าของภาษาทั้งจากบทสนทนาและการจัดกิจกรรมอย่างเป็นทางการ
    13. ควรส่งเสริมให้ผู้เรียนมีความภาคภูมิใจในชาติของตนเอง ในขณะที่เรียนรู้วัฒนธรรมของเจ้าของภาษา
    14. ควรเลือกใช้โสตทัศนูปกรณ์ที่จะช่วยให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้เกี่ยวกับภาษาและข้อเท็จจริงด้านวัฒนธรรมอย่างมีประสิทธิภาพ
    15. ควรจัดการประเมินผลที่จะทำให้ทราบถึงสัมฤทธิ์ผลของผู้เรียน ความต้องการในการจัดซ่อมเสริมเป็นรายบุคคล รวมทั้งประสิทธิภาพในการสอนของตัวครูเอง
    สำหรับตัวผู้เรียน ในการเรียนการสอนภาษาเพื่อการสื่อสาร ลิตเติลวูด (Littlewood 1981, อ้างถึงใน พัชรินทร์ อุทัยฉัตร 2537: 11) ได้เสนอว่าควรจะต้องคำนึงถึงตัวผู้เรียน ดังนี้
    1. ผู้เรียนต้องได้รับการฝึกความสามารถทางด้านภาษาศาสตร์ให้มากที่สุด นั่นคือ ผู้เรียนจะต้องพัฒนาทักษะในการนำระบบทางภาษาศาสตร์มาใช้ จนกระทั่งสามารถใช้ได้อย่างเป็นธรรมชาติและเหมาะสมในการสื่อความตั้งใจออกมา
    2. ผู้เรียนต้องสามารถแยกแยะความแตกต่างระหว่างรูปแบบของภาษา และการใช้ภาษานั่นคือ ผู้เรียนต้องมีความเข้าใจในเรื่องระบบภาษาศาสตร์ และนำมาใช้ระบบทางการสื่อสารได้จริง
    3. ผู้เรียนต้องพัฒนาทักษะและกลวิธีในการใช้ภาษา เพื่อการสื่อสารให้มีประสิทธิภาพมากที่สุดในสถานการณ์ที่มองเห็นได้ชัด และรู้จักการใช้ข้อมูลย้อนกลับ เพื่อเป็นเครื่องตัดสินความสำเร็จและแก้ไขข้อผิดพลาดโดยการใช้ภาษาที่แตกต่างออกไป
    4. ผู้เรียนจะต้องตระหนักถึงความหมายทางสังคมของรูปแบบภาษา ซึ่งความรู้ด้านนี้อาจจะไม่รวมถึงความสามารถที่จะใช้ภาษาให้แปรเปลี่ยนไปเพื่อให้เหมาะสมกับสถานการณ์ทางสังคมที่แตกต่างออกไป แต่เป็นความสามารถที่จะใช้ภาษาที่เป็นที่ยอมรับและหลีกเลี่ยงไม่ใช่ข้อผิดพลาดที่รุนแรง
    กล่าวโดยสรุปจะเห็นได้ว่า หลักการจัดกิจกรรมในการสอนภาษาเพื่อการสื่อสารที่กล่าวมาข้างต้น ครูผู้สอนสามารถที่จะนำไปใช้ในการกิจกรรมการเรียนการสอนทั้ง 4 ทักษะ คือ ฟัง พูด อ่าน เขียน แต่ควรสอนในรูปทักษะสัมพันธ์ คือ มีกิจกรรมที่ต้องอาศัยทักษะมากกว่าหนึ่งทักษะ และมีความสัมพันธ์กันระหว่างทักษะต่าง ๆ เพื่อที่จะให้ผู้เรียนได้มีโอกาสสื่อสารกันอย่างแท้จริง และเพื่อให้กิจกรรมการเรียนการสอนเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพและบรรลุตามวัตถุประสงค์

    ตอบลบ
  3. ด.ช.ฐณะวัฒน์ หมวกแก้ว
    เลขที่30 ป.6/5
    สวัสดีครับ
    你好。
    Nǐ hǎo.

    ตอบลบ
  4. เด็กชาย ธัชชานนท์ เสาวัต
    ป. 6/4 เลขที่ 30

    Yán
    หิน

    ตอบลบ
  5. เด็กหญิง กมลชนก ศรีชัย เลขที่43
    เด็กหญิง วราลี บึงไกร เลขที่ 18
    เด็กหญิง จุฑาภรณ์ อนันทวรรณ เลขที่ 22
    เด็กหญิง บัณฑิตา กมล เลขที่ 29
    ป.6/4
    剑鱼。
    Jiàn yú.
    ปลาดาบ

    ตอบลบ